สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ คู่คุณธรรม พัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างผู้ประกอบการ นักธุรกิจการเกษตร และนักวิชาการทางธุรกิจการเกษตรด้วยสหกิจศึกษาและบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education; CWIE)

สถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบันกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม เป็นผลทำให้สถาบันอุดมศึกษาต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ บทบาท พันธกิจ และหน้าที่ ในการจัดการเรียนการสอนให้ก้าวทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งโลก ในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมไร้พรมแดนและขับเคลื่อนด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร

ดังนั้นมนุษย์ในสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องใช้คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถด้านธุรกิจการเกษตร ที่มีความเป็นมืออาชีพ มีความเข้าใจในผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นคนดี มีจิตสาธารณะ ที่จะช่วยชี้นำและขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปในรูปแบบที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของสังคมไทย การปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจการเกษตรให้สอดคล้องกับผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอน จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการสร้างนักศึกษาให้มีความรู้ (knowledge) แต่เพียงอย่างเดียว เป็นการสร้างนักศึกษาที่มีความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills) ให้มีสมรรถนะที่พร้อมในการทำงานในโลกยุคใหม่ด้วย ดังนั้น หลักสูตรบริหารธุรกิจการเกษตรจึงเล็กเห็นความสำคัญในการบูรณาการการจัดการศึกษากับการทำงานให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองผู้เรียนและสังคมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับทุกมิติของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีลักษณะที่เป็นพลวัต (Dynamics) อีกทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (คณะกรรมการการอุดมศึกษาเดิม) ที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) มาตั้งแต่ปี 2545 และต่อมาในปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้เปิดกว้างในการนำแนวคิดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning; WIL) รูปแบบอื่นๆ มาส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้เลือกใช้ตามศาสตร์และบริบทของสถาบัน เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษารูปแบบเดียวอาจไม่สอดคล้องกับทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดุมศึกษาเดิม จะสนับสนุนให้มีสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานมาโดยตลอด แต่จำนวนหลักสูตรและบัณฑิตที่ผลิตได้ยังคงไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนากำลังคนของรัฐบาลดังกล่าว คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน จึงได้เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education; CWIE) เพื่อผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาได้จัดทำหลักสูตรได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการสร้างสมรรถนะเพื่อสร้างบัณฑิตให้พร้อมสู่โลกแห่งการทำงาน และตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ยังได้มีนโยบายโครงการพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใหม่ และสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้ใช้ความสามารถและศักยภาพของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักแนวคิด 4 เรื่องหลัก ได้แก่

  1. การกำหนดทิศทางของระบบอุดมศึกษาใหม่ (Re-Orientation)
  2. การปรับยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินตนเอง กระบวนการพัฒนาตนเองตามยุทธศาสตร์ (Re-Profiling)
  3. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตกำลังคน การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Re-Structure)
  4. การจัดองค์กรเพื่อการบริหารระบบอุดมศึกษาใหม่ (Re-Organization) ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนากำลังคนของรัฐบาลดังกล่าว

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจการเกษตร จึงได้พัฒนาหลักสูตรให้เป็นไปในแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ การจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) สร้างบัณฑิตให้พร้อมสู่โลกการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ โดยร่วมกับองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพอย่างเหมาะสม มีคุณธรรม และจริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเข้าร่วมจัดหลักสูตร CWIE นอกจากนี้หลักสูตรบริหารธุรกิจการเกษตรยังได้ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนแบบระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) สอดคล้องกับแผนของกระทรวงฯ ระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ไว้ชัดเจนว่าอุดมศึกษาต้องเปิดโอกาสให้ผู้จบอาชีวศึกษาและกําลังทำงานสามารถเข้าศึกษาต่อในอุดมศึกษา ได้ด้วยความยืดหยุ่น ไม่ต้องทิ้งงานทิ้งอาชีพ ศึกษาในเงื่อนไขเวลาที่ไม่บีบรัด ไม่ผูกมัดนักศึกษาที่เป็นผู้ผลักดันภาคการผลิตจริง ไม่กำหนดว่าต้องเรียนสำเร็จในระยะเวลาชัดเจน สามารถจัดการเรียนการสอนเป็นแบบหลักสูตรระยะสั้น (Shot Course) โดยจัดให้มีการสะสมหน่วยกิตสำหรับผู้เรียนให้สามารถนําผลการเรียนและผลการเรียนรู้มาสะสมหน่วยกิตและฝากในธนาคารหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาได้ โดยไม่จํากัดระยะเวลาในการสะสมหน่วยกิตและระยะเวลาในการเรียนต่อไป

Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) Matrix

องค์กรร่วมผลิต :

  • บริษัท เบทาโกร จำกัด 
  • บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภูตะวันออร์แกนิค ฟาร์ม
  • สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด
  • บริษัท นครพนมบีฟ (ไทยแลนด์) จำกัด และบวรทัตฟาร์ม
  • กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมทองสกลทวาปีบ้านนาบ่อ
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด วรรณวงศ์ฟรูทไวน์
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครามฮัก 2519
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด โคขุนคุณทอง (ฟาร์มฮัก)/บริษัท ไทคูณบีฟ แฟมิลี่ จำกัด
  • สามอังคารฟาร์ม
  • บริษัท น้ำใสอิสานฟาร์ม จำกัด  
  • บริษัท ชัยขจรฟาร์ม จำกัด 13) ศูนย์รวมนมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร (ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร)
  • สหกรณ์การเกษตรโนนหัวช้าง จำกัด

ข้อมูลบุคลากรในหลักสูตร

ชื่อ-สกุล : อาจารย์นราวุธ ระพันธ์คำ
Mr. Narawut Rapankum

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(เศรษฐศาสตร์การเกษตร) สาขา เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549
  • วุฒิ วท.ม.(ธุรกิจการเกษตร) สาขา ธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551

E-mail    : narawut@snru.ac.th

การวิเคราะห์โครงการทางธุรกิจการเกษตร

ชื่อ-สกุล : อาจารย์ธนะดา ก้อนกั้น
Mrs. Thanada Konkan

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(เศรษฐศาสตร์การเกษตร) สาขา เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550
  • ปริญญาโท วุฒิ วท.ม.(ธุรกิจการเกษตร) สาขา ธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552

E-mail    : phornphat@snru.ac.th

ธุรกิจการเกษตรชุมชม การตลาดสินค้าเกษตร

ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี
Mr. Rueangrit Hanmontree

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(การประมง) สาขา ประมง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541
  • ปริญญาโท วุฒิ วท.ม.(ธุรกิจการเกษตร) สาขา ธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548

E-mail    : h.rueangrit@snru.ac.th

ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร

ชื่อ-สกุล : อาจารย์ลัดดาวัลย์  เลิศจันทึก
Miss. Laddawan Lertjunthuk

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(เศรษฐศาสตร์การเกษตร) สาขา เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556
  • ปริญญาโท วุฒิ ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) สาขา เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558

E-mail    : laddawan@snru.ac.th

เศรษฐศาสตร์การเกษตร, เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, การตลาดสินค้าเกษตร

ชื่อ-สกุล : อาจารย์โกวิทย์ พัชรบุษราคัมกุล
Kowit Patcharabudsarakumkul

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2536
  • ปริญญาโท วุฒิ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) สาขา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543

E-mail    : kovit.p@snru.ac.th

การจัดการธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร, การเป็นผู้ประกอบธุรกิจการเกษตรและอาหาร

ชื่อ-สกุล : อาจารย์ชนกนันท์ ศรีลาพัฒน์
Chanoknan Srilapat

วุฒิการศึกษา

  • ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ.(เกษตรศาสตร์) สาขา เศรษฐศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550
  • ปริญญาโท วุฒิ วท.ม.(ธุรกิจการเกษตร) สาขา ธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554

E-mail    : chanoknansri@snru.ac.th

ธุรกิจการเกษตร

ข้อมูลการบริการวิชาการและสังคม

  • โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ประเภทหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) หลักสูตร “นักการตลาดธุรกิจการเกษตรยุคดิจิทัล (การตลาดออนไลน์)”  ในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 28 มกราคม 2566 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ประเภทหลักสูตรระยะสั้น (Short Course) หลักสูตร “ผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่” ในระหว่างวันที่ 3 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (อาคาร 12) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เลขที่ 680 ถนนนิตโย ต. ธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์ 042-743682,086-4500205 เบอร์ภายใน IP Phone 705

เพจสาขาพืชศาสตร์ :  https://www.facebook.com/AgribusinessSNRU/

Website

เวปไซต์หลัก