หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะทางการผลิตพืชที่มีความหลากหลาย ทั้งการผสมผสานกับภูมิปัญญาและเทคโนโลยีตามสมัย สามารถเป็นนักผลิตพืช ผู้ประกอบการทางการเกษตร นักวิชาการ และนักวิจัย ควบคู่กับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-11 สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้จัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และประกอบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ
นอกจากนั้นได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน”สาขาวิชาพืชศาสตร์ตระหนักถึงแนวทางดังกล่าว จึงปรับปรุงหลักสูตรนี้ให้มีความสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และทิศทางและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาภาคการผลิต โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตร และส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่รูปแบบเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกื้อกูลกับระบบนิเวศมากขึ้น รวมทั้งการมุ่งเน้นทิศทางการพัฒนาให้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ในเป้าหมายที่ 2 การขจัดความหิวโหย และเป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวต้องอาศัยองค์ความรู้ทางวิชาการเกษตรด้านพืชและเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความแม่นยำของระบบจัดการการผลิตและการตลาด จึงจำเป็นต้องการกำลังคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการผลิต เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชศาสตร์ รวมทั้งมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และวางแผนได้ สาขาวิชาพืชศาสตร์จึงได้พัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น มีความหลากหลาย สอดคล้องตามสมัย และสามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ เพื่อทำให้บัณฑิตพืชศาสตร์มีอัตลักษณ์ที่ เป็นคนดี มีความรู้และทักษะในศาสตร์ด้านพืชที่หลากหลาย มีความคิดสร้างสรรค์ หมั่นเรียนรู้ สู้งานหนัก และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลบุคลากรในหลักสูตร
ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณัฐพงษ์ วงษ์มา
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ. (พืชศาสตร์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2550
- ปริญญาโท วุฒิ วท.ม. (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553
E-mail : nattapong.w@snru.ac.th
การผลิตไม้ผลเศรฐกิจ
ชื่อ-สกุล : รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทรีย์ สุรศร
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ. (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538
- ปริญญาโท วุฒิ วท.ม. (พืชสวน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2542
- ปริญญาเอก วุฒิ ปร.ด. (พืชไร่) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547
E-mail : sun_dawn990@hotmail.com
พืชไร และปรับปรุงพันธุ์พืช
ชื่อ-สกุล : อาจารย์ ดร.พิจิกา ทิมสุกใส
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2540
- ปริญญาโท วุฒิ วท.ม. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2545
- ปริญญาเอก วุฒิ ปร.ด. (เกษตรเชิงระบบ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557
E-mail : pijika_t@live.com
การเกษตรเชิงระบบ
ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ครองใจ โสมรักษ์
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ. (เทคโนโลยีการผลิตพืช) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2540
- ปริญญาโท วุฒิ วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2548
E-mail : jeeji12@yahoo.com
เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
ชื่อ-สกุล : รองศาสตราจารย์ ดร.นายสมชาย บุตรนันท์
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี วุฒิ วท.บ. (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548
- ปริญญาโท วุฒิ –
- ปริญญาเอก วุฒิ ปร.ด. (ทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558
E-mail : sbutnan@snru.ac.th
ปฐพีวิทยา
ข้อมูลการบริการวิชาการและสังคม
- โครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลโคกศิลา อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร
- โครงการอบรมเพื่อพัฒนาการผลิตผักปลอดสารพิษ
- โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรสุขใจเพื่อความยั่งยืน ปี 2 (คณะเทคโนโลยีการเกษตร) กิจกรรมที่ 1 อบรมการผลิตและใช้ถ่านมูลสัตว์เพื่อเป็นสารปรับปรุงดิน
- กิจกรรมขยายผลและเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสวนครัว ภายใต้โครงการการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มพืชสวนครัว 5.โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนพันนาด้วยนวัตกรรมการเพาะเห็ด
ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (อาคาร 12) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เลขที่ 680 ถนนนิตโย ต. ธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์ 042-743682,086-4500205 เบอร์ภายใน IP Phone 705
เพจสาขาพืชศาสตร์ : https://www.facebook.com/plantsciencesnru
Website