เชี่ยวชาญการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยี
ปี พ.ศ. 2542 สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ได้กำหนดให้แต่ละสถาบันราชภัฏมีแนวทางในการพัฒนาสถาบันและให้โอกาสในการให้บริการวิชาการแก่สังคมมากขึ้น โดยมีการจัดหน่วยงานใหม่เกิดขึ้น คือ คณะเทคโนโลยีการเกษตร การก่อตั้งขึ้นจากการรวมภาควิชาเกษตรศาสตร์และภาควิชาคหกรรมศาสตร์ เป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการในสถาบัน ลงวันที่ 27 กันยายน 2542 ทำหน้าที่งานด้านการจัดการศึกษาทำการผลิตบัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์และ คหกรรมศาสตร์ ทั้งในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี
เดิมเมื่อปี พ.ศ. 2550 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดการเรียนการสอน จำนวน 9 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวบาล สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ และสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการเกษตร
เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้จัดทำโครงสร้างการบริหารสาขาวิชาใหม่ ประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาการประมง และสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร และมีหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนจำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการเกษตร และสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ประกอบไปด้วย 3 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการประมง และแขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะและมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณาจารย์ในสาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้ดำเนินการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการเกษตร) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2550 (แขนงวิชาเทคโนโลยีการประมง) และได้ปรับปรุงหลักสูตรเป็น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(เทคโนโลยีการเกษตร) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 (แขนงวิชาเทคโนโลยีการประมง) เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวุฒิการศึกษาซึ่งบัณฑิตที่ในแขนงวิชาเทคโนโลยีการประมง ซึ่งเป็นวุฒิการศึกษาที่ไม่ตรงตามความต้องการของภาครัฐหรือภาคเอกชน ทางสาขาวิชาการประมงจึงปรับปรุงเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การประมง) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ซึ่งเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2559 และมีการปรับปรุงอีกครั้งเมื่อปี 2564 เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้มีความทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายรอบด้าน ให้มีความเป็นวิชาชีพทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้เปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2564 เป็นต้นมา
ข้อมูลบุคลากรในหลักสูตร
ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทาริกา ทิพอุเทน
Asst.prof. Tarika Thip-uten, Ph.D.
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาเอก ปร.ด. (การประมง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2564
- ปริญญาโท วท.ม. (วิทยาศาสตร์การประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2543
- ปริญญาตรี วท.บ. (การประมง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541
E-mail : tarika.t@snru.ac.th
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำ จุลชีววิทยาทางสัตว์น้ำ
ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงทรัพย์ อรุณกมล
Asst.prof. Songsub Arungamol
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาโท วท.ม. (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552
- ปริญญาตรี วท.บ. (การประมง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2546
E-mail : songsub.a@snru.ac.th
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำ จุลชีววิทยาทางสัตว์น้ำ
ชื่อ-สกุล : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพรัตน์ พัชณีย์
Asst.prof. Nopparat Patchanee
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาโท วศ.ม. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554
- ปริญญาตรี วท.บ. (ประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549
E-mail : nopparat.p@snru.ac.th
คุณภาพน้ำ การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชื่อ-สกุล : อาจารย์อนาวิล พรหมเทพ
Anawil Promthep
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาโท วท.ม. (การประมง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551
- ปริญญาตรี วท.บ. (การประมง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549
E-mail : anavil.p@snru.ac.th
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์สัตว์น้ำ การเลี้ยงกุ้ง
ชื่อ-สกุล : อาจารย์อรอนงค์ ขันเดช
Aonanong Khundech
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาโท M.Sc. (Aquaculture and Aquatic Resources Management) Asian Institute of Technology, 2551
- ปริญญาตรี วท.บ. (ประมง) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2549
E-mail : aonanong.c@snru.ac.th
อาหารและโภชนศาสตร์สัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ชื่อ-สกุล : อาจารย์นวรัตน์ เมืองเล็น
Nawarat Muanglen
วุฒิการศึกษา
- ปริญญาโท วท.ม. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551
- ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์-ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยบูรพา, 2541
E-mail : ann.nawarat@gmail.com
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำ จุลชีววิทยาทางสัตว์น้ำ
ข้อมูลการติดต่อหลักสูตร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร (อาคาร 12) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เลขที่ 680 ถนนนิตโย ต. ธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์ 042-743682,086-4500205 เบอร์ภายใน IP Phone 730
เพจสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ : https://www.facebook.com/fisheries.snru
Website