นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ผ่านการการอบรมวิศวกรสังคม ได้ดำเนินโครงการวิศวกรสังคม เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนบ้านหนองแหวนพัฒนา จังหวัดสกลนคร ให้สามารถประกอบอาชีพและสร้างรายได้จากการเลี้ยงปลาน้ำจืดต่อไปได้ โดยใช้เครื่องมือ 5 ด้าน ได้แก่ ไทม์ไลน์พัฒนาการ นาฬิกาชีวิต ฟ้าระทาน ไทม์ไลน์กระบวนการ และ M.I.C. model โดยจัดกิจกรรมผ่านโครงการวิศวกรสังคมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเพาะเลี้ยงปลาเนื้อเศรษฐกิจเพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างรายได้ให้ชุมชน
จากการดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมเพื่อพัฒนา soft skill โดยนักศึกษาได้เป็นนักคิด จากเครื่องมือฟ้าประทาน เพื่อแยกแยะเหตุและผลที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยมีการพัฒนาตนเองเป็นนักสื่อสาร จากการเก็บข้อมูลของเครื่องมือนาฬิกาชีวิต มาสู่การเป็นนักประสานกับทีมเพื่อนร่วมโครงการ อาจารย์ที่ปรึกษา และชุมชน ในการทำงานกับผู้อื่น และสามารถเป็นนักสร้างนวัตกรรมในการออกแบบไทม์ไลน์กระบวนการของปัญหาที่พบได้
5 เครื่องมือวิศวกรสังคม
- ไทม์ไลน์พัฒนาการ
- นาฬิกาชีวิต
- ฟ้าระทาน
- ไทม์ไลน์กระบวนการ
- M.I.C. model