โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านความมั่นคงทางอาหาร (SDGs2) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เผยเเพร่เมื่อ 27 เข้าชม

     กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ: หลักการมาตรฐานอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสุขอนามัยของผู้ประกอบการอาหาร ศิลปะการจัดอาหาร การจัดการขยะอาหาร และการใช้หนอนแมลงวันลายเพื่อจัดการขยะอาหารในโรงอาหาร กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ประกอบการร้านค้าจำหน่ายอาหาร และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้ชุดความรู้ที่ 1 หลักการมาตรฐานอาหารปลอดภัย และการเฝ้าระวังสุขอนามัยของผู้ประกอบการอาหาร โดยมีท่านวิทยากร คุณศันสนีย์ สุดทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านอนามัยและสุขาภิบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร บรรยายถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัยที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการอาหารในโรงอาหาร วิทยากรเน้นถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความสะอาด เช่น การจัดเก็บอาหาร การทำความสะอาดอุปกรณ์ทำครัว และการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ประกอบการ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และ ชุดความรู้ที่ 2 ศิลปะการจัดอาหาร โดยมีท่านวิทยากร อาจารย์ศศิธร มีชัยตระกูล อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการจัดอาหารวิทยากรได้นำเสนอเทคนิคการจัดอาหารให้ดูสวยงามและดึงดูดผู้บริโภค ไม่เพียงแต่เพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงโภชนาการและการลดขยะอาหาร อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาใช้เพื่อสร้างสรรค์เมนูที่มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารผ่านการออกแบบและจัดวางอย่างมีศิลปะ ชุดความรู้ที่ 3 การจัดการขยะอาหาร และการใช้หนอนแมลงวันลายเพื่อจัดการขยะอาหารในโรงอาหาร โดยมีท่านวิทยากร อาจารย์วรางรัตน์ เป้งไชยโม อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากขยะอาหาร วิทยากรได้เสนอแนวทางการจัดการขยะอาหารภายในโรงอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการลดปริมาณขยะที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้งผ่านการแยกขยะและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจคือการใช้หนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly) เพื่อกำจัดขยะอาหาร หนอนแมลงวันลายสามารถย่อยสลายขยะอาหารได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะอาหาร

     การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการร้านค้าและนักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารปลอดภัย สุขอนามัย และการลดขยะอาหารผ่านเทคนิคใหม่ ๆ การจัดการขยะอาหารโดยใช้หนอนแมลงวันลายได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้จริงภายในมหาวิทยาลัยและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

     ผลกระทบ (impact) ด้านสังคม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครมีร้านอาหารภายในที่มีความสะอาดปลอดภัย มีชนิดของอาหารทางเลือกที่หลากหลาย และเป็นธรรม ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs 2 ในข้อ 2.3.3 ด้านความยั่งยืนของตัวเลือกชนิดอาหาร (Food choice) และ 2.3.4 ด้านความยั่งยืนของตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพและราคาไม่แพง

     ผลกระทบ (impact) ด้านสิ่งแวดล้อม : การกำจัดอาหารขยะภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จะเป็นข้อมูลในการประมาณการการจัดทำอาหาร ซึ่งหากไม่มีข้อมูลด้านนี้จะทำให้อาหารส่วนเกินจำนวนมาก กลายเป็นขยะอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาการลดขยะอาหาร และการกำจัด หรือการนำไปใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี จึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)